https://thadaw.com/posts/feed.xml

เขียน Concurrency ใน TypeScript ด้วย Promise allSettled

2023-12-05

การทำงานแบบ concurrency หรือการทำงานพร้อมกันหลายๆ งานที่ต้องใช้เวลานานใน TypeScript สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วย Promise.allSettled ซึ่งช่วยให้เราสามารถรัน Promise หลายๆ ตัวพร้อมกันและรับผลลัพธ์ทั้งหมดได้ไม่ว่า Promise ตัวไหนจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ตาม

ตัวอย่างการใช้งาน

ในตัวอย่างนี้ เราจะมีฟังก์ชัน main ที่ใช้ Promise.allSettled เพื่อรัน Promise หลายๆ ตัวที่แทนงานที่ต้องใช้เวลานาน เช่นการเรียกใช้ API, การดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล, หรือการประมวลผลข้อมูลที่มีขนาดใหญ่


async function main() {
  
   // 1. สร้าง Reference ของ Promise ที่เป็น Array ว่างๆ ไว้ก่อน
  const promises: Promise<number>[] = [];

  // 2. วนลูปเรียกใช้ longRunningTask 5 ครั้ง โดยที่ไม่ต้องใช้ Await เพื่อให้แต่ละ Task ทำงานพร้อมกัน
  for (let i = 0; i < 5; i++) {
    promises.push(longRunningTask(i + 1, 1, 5));
  }

  // 3. รอให้ทุก Task ทำงานเสร็จ
  const results = await Promise.allSettled(promises);
  console.log("--------------------------------------------------");
  console.log("All tasks finished");
  let i = 0;

   // 4. วนลูปเรียกใช้ console.log แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากทุก Task ที่เสร็จสิ้น
  for (const result of results) {
    if (result.status === "fulfilled") {
      console.log(`Task ${i + 1} took ${result.value / 1000} seconds`);
    } else {
      console.log(`Task ${i + 1} failed with error: ${result.reason}`);
    }
    i++;
  }
}

main();

การทำงานของ Promise.allSettled

เมื่อเรียกใช้ Promise.allSettled จะได้ผลลัพธ์เป็น PromiseSettledResult<T>[] โดย T คือประเภทข้อมูลที่ Promise ส่งกลับ

const results = await Promise.allSettled(promises);
// PromiseSettledResult<number>[]

โค้ดนี้ใช้ interface PromiseFulfilledResult และ PromiseRejectedResult ในการบอกสถานะของ Promise ว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ

interface PromiseFulfilledResult<T> {
    status: "fulfilled";
    value: T;
}

interface PromiseRejectedResult {
    status: "rejected";
    reason: any;
}

type PromiseSettledResult<T> = PromiseFulfilledResult<T> | PromiseRejectedResult;

สังเกตุในโค๊ดตรงนี้จะเห็นได้ว่า result จะมี type เป็น PromiseSettledResult<number> ดังนั้นเราสามารถ guard type (ลดความเป็นไปได้ของ Type) นั่นคือ

  • ถ้ามี status เท่ากับ "fulfilled" หมายความว่า TypeScript จะรู้ว่ามันคือ Type PromiseFulfilledResult<number> อัตโนมัติ ซึ่งก็ึคือมี key value ที่มี Type เป็น number นั่นเอง
  • แต่ถ้ามี status ไม่เท่ากับ "fulfilled" (Else Condition) หมายความว่า TypeScript จะรู้ว่ามันคือ Type PromiseRejectedResult<number> อัตโนมัติ (เพราะมีโอกาสแค่ 2 แบบ ถ้าไม่ใช่แบบแรก ก็จะเป็นแบบที่ 2 ทันที) ซึ่งก็ึคือมี key reason ที่มี Type เป็น any นั่นเอง
//... Loop in `results` array then....
if (result.status === "fulfilled") {
  console.log(`Task ${i + 1} took ${result.value / 1000} seconds`);
} else {
  console.log(`Task ${i + 1} failed with error: ${result.reason}`);
}

ตัวอย่างของฟังก์ชันที่รันนาน

ในตัวอย่างนี้ เราจำลองการทำงานที่ใช้เวลานานด้วยฟังก์ชัน longRunningTask ที่ทำการจำลองการทำงานและผลลัพธ์ที่สามารถเป็นไปได้

function longRunningTask(
  taskId: number,
  minDurationSec: number,
  maxDurationSec: number
): Promise<number> {
  const minDuration = minDurationSec * 1000;
  const maxDuration = maxDurationSec * 1000;
  const delay =
    Math.ceil(
      (Math.floor(Math.random() * (maxDuration - minDuration + 1)) +
        minDuration) /
        1000
    ) * 1000;
  console.log(`Task ${taskId} started, will take ${delay / 1000} seconds`);
  let currentTime = 0;
  const interval = setInterval(() => {
    currentTime += 1000;
    console.log(
      `Task ${taskId} in progress, current time: ${currentTime / 1000} seconds`
    );
  }, 1000);
  return new Promise((resolve, reject) => {
    setTimeout(() => {
      clearInterval(interval);
      if (Math.random() < 0.5) {
        console.log(`Task ${taskId} failed`);
        reject(`Task ${taskId} failed`);
      } else {
        console.log(`Task ${taskId} finished`);
        resolve(delay);
      }
    }, delay);
  });
}

ผลลัพธ์จะแสดงข้อความเกี่ยวกับการทำงานที่รันนานและผลลัพธ์ของแต่ละงานที่สำเร็จหรือไม่สำเร็จ

ด้วยการใช้ Promise.allSettled ใน TypeScript เราสามารถทำงาน concurrency ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับให้เหมาะกับลำดับการทำงานที่ต้องการในแต่ละบล็อกของโปรแกรมของเราได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างการทำงานของโปรแกรม

Task 1 started, will take 4 seconds
Task 2 started, will take 4 seconds
Task 3 started, will take 5 seconds
Task 4 started, will take 4 seconds
Task 5 started, will take 2 seconds
Task 1 in progress, current time: 1 seconds
Task 2 in progress, current time: 1 seconds
Task 3 in progress, current time: 1 seconds
Task 4 in progress, current time: 1 seconds
Task 5 in progress, current time: 1 seconds
Task 5 failed
Task 1 in progress, current time: 2 seconds
Task 2 in progress, current time: 2 seconds
Task 3 in progress, current time: 2 seconds
Task 4 in progress, current time: 2 seconds
Task 1 in progress, current time: 3 seconds
Task 2 in progress, current time: 3 seconds
Task 3 in progress, current time: 3 seconds
Task 4 in progress, current time: 3 seconds
Task 1 finished
Task 2 finished
Task 4 failed
Task 3 in progress, current time: 4 seconds
Task 3 failed
--------------------------------------------------
All tasks finished
Task 1 took 4 seconds
Task 2 took 4 seconds
Task 3 failed with error: Task 3 failed
Task 4 failed with error: Task 4 failed
Task 5 failed with error: Task 5 failed
powered by zola and serene