อยากแชร์ เรื่องหลังจาการตัดสินใจ ทำไมถึงใช้เวลาทำวิจัยป.โท แค่ 7 เดือน
อยากแชร์ เรื่องหลังจาการตัดสินใจ ทำไมถึงใช้เวลาทำวิจัยป.โท แค่ 7 เดือน (ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอาจจะต้องใช้เวลาเป็นปี)
ก่อนอื่นนะครับ ผมไม่เก่งอะไร เพียงแต่มีวิธีคิด วินัยและพันธสัญญาต่อตัวเอง และอยากมาแชร์มุมมองว่า การที่เราจะประสบความสำเร็จในเรื่องใดๆ สักเรื่องนั้น มันจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง นั่นคือ ความเชื่อ, เป้าหมาย, และการรักษาการตัดสินใจตลอดเวลา (วินัย)
ความเชื่อ
ก่อนอื่นขอเล่าก่อน มันอาจจะดูเว่อนะครับ 7 เดือนเสร็จได้ แต่จริงๆ มันคือแบบนั้นจริงๆ คือ หลังจบปลดประจำการทหาร ทางมหาวิทยาลัยติดต่อมาว่า "ถ้าต้องการสมัครเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ต้องจบวุฒิป.โทให้ทัน มีเวลาให้ 7 เดือน
ซึ่งมีเงื่อนพ่วงท้ายว่าจะต้องมี 2 งานวิจัยด้วย, และมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษด้วย "ผมก็ตอบว่าได้ครับ จบทันครับ"
ทั้งๆ ที่วันนั้นความคืบหน้าของวิทยานิพนธ์แค่ 25% คือ
- ปัญหาที่จะแก้ชัด
- ยังไม่รู้ว่าต้องแก้ด้วยวิธีไหน (เคยหาวิธีแก้ปัญหามาแล้วร่วม 4-5 เดือน แต่ไม่เจอ)
- ยังไม่รู้ว่าทำแล้วจะแก้ปัญหาได้มั้ย
- ยังไม่ได้ทำการทดลอง, ไม่มีผลการทดลองใดๆ
- ยังไม่ได้เขียนโปรแกรม
- รายงานก็ยังไม่ได้เขียน, งานวิจัยยังไม่มีสักอัน สรุปคือ ไม่พร้อมสักอย่างครับ แต่วันนั้นผม ตอบไปอย่างเร็วมากครับ ด้วยความเชื่อว่า "เราทำได้" จริงๆ ผมไม่ได้คิดมากเลย แต่ผมคิดง่ายๆ ครับ ถ้าทำไม่ได้แล้วจะเสียอะไรมั้ย?
- เสียเวลา
- จ่ายค่าเทอมมากขึ้น
- อาจจะไม่ได้งานที่อยากทำ ความเชื่อก็เปรียบเหมือนพลังงานในตัวเรา ความหวัง ความมั่นใจในการลงมือทำอะไรสักอย่าง พอเรามั่นใจเราก็จะลงมือทำครับ หากวันใดปราศจากความเชื่อแล้วไซร้ ก็คงไม่ต่างกับรถที่ไร้น้ำมัน
เป้าหมาย
เป้าหมายที่ดีควรจะมีภาพที่ชัดเจนและมีระยะเวลากำหนด ซึ่งผมเองก็มีภาพที่ชัด แต่มีเวลาเป็นตัวกำหนดครับ (ก็มีเวลาแค่ 7 เดือน ทั้งๆ ที่ปกติอาจจะต้องใช้เวลาเป็นปี) แล้วเราจะคิดครับว่าทำยังไงให้ทันเวลา
นึกง่ายๆ ว่า เราอาจารย์สั่งการบ้าน ตอนสั่งใหม่ๆ ไม่ทำ คิดไม่ออก แต่พอใกล้เวลาส่ง พลังงานมาจากไหนไม่รู้ ต้องเสร็จให้ทัน ฮ่าๆๆ
เพราะว่าถ้าภาพไม่ชัดเราก็ไม่รู้ว่าเราจะอยากได้มันทำไม
เพราะว่าถ้าเดดไลน์ ไม่ชัด เราก็จะทำเรื่อยๆ เสร็จเมื่อไหร่เมื่อนั้น
การรักษาการตัดสินใจตลอดเวลา (วินัย) จนกว่าจะถึงเป้าหมาย
เมื่อมีความเชื่อมีมากพอ เราจะไม่ลืมเป้าหมาย ชนิดที่กัดไม่ปล่อย ยังไงก็ขอไม่แพ้ในเวทีนี้ละนะ
หัวข้อนี้สำคัญไม่แพ้กัน เพราะว่าเราจะต้องรักษาการตัดสินใจให้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเรายังคงทำมันต่อหรือไม่ ซึ่งมันจะมันจะเกิดเป็นนิสัย
ซึ่งมันจะต้องมีการวางแผนและลงมือทำ พอรู้ว่าเวลามีน้อยมากๆ เลยต้องคิดให้เยอะครับ ว่าจะทำอะไรตรงไหนบ้าง ทำให้ทำงานรอบคอบมาก แทบไม่สูญเสียโฟกัสเลย ครับ
คิดมากกว่าทำ จะใช้เวลาทำน้อยกว่าที่คิด Failing to plan is planing to fail
"คนที่สำเร็จ ไม่ได้สำเร็จแล้ว ได้นิสัยแบบคนประสบความสำเร็จ แต่ทำแต่เรื่องให้ตรงกับเงื่อนไขความสำเร็จจนเป็นนิสัย ถึงจะสำเร็จ"
ชีวิตจะเป็นอย่างไรเริ่มที่ตัวเรา สร้างนิสัยแบบคนสำเร็จหรือยัง เข้าใจเงื่อนไขความสำเร็จ แล้วจะสำเร็จจนเป็นนิสัย
สุดท้ายถามว่า ทำงานเร็วขนาดนี้งานลวกมั้ย?
ด้านล่างเป็นความคิดเห็นของอาจารย์กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ (ที่เชิญมาจากข้างนอก) ผศ.ดร.เทพฤทธิ์ ซึ่งถนัดเรื่อง cache ครับ
"สุดท้ายนี้ ผมขออนุญาตชื่นชมท่านอาจารย์ที่ปรึกษาและ นศ อีกครั้งว่าเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพประทับใจอีกหนึ่งฉบับเท่าที่ผมเคยสัมผัสมาครับ"
"...เพื่อเป็นวิทยาทานให้นักวิจัยรุ่นน้องๆ และผมจะขอเก็บงานดีๆ นี้ไว้อ้างอิงด้วยเช่นกันครับ"
จงมีพันธสัญญาต่อตัวเอง ต่อความเชื่อ ต่อเป้าหมาย แล้วพบกันที่ความสำเร็จครับ ป.ล. งานเกือบทั้งหมดเสร็จในระยะ 7 เดือน แต่มีประเด็นเรื่องเวลาการนำเสนองานวิจัย ที่ทำให้เร็วไม่ได้จึงต้องรอเวลาเพื่อจบครับ
บทความเนื้อเขียนเพื่อทบทวนความทรงจำของตัวผมเอง
Cross Publish at Facebook https://www.facebook.com/photo/?fbid=10218769998469109&set=a.1519952206806